วันพุธที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2554

ตลาดร่มหุบ

 ตลาดร่มหุบ หรืออีกชื่อหนึ่งว่า ตลาดแม่กลอง แต่ชาวบ้านมักจะเรียกว่า ตลาดเสี่ยงตายเป็นตลาดที่ติดอยู่กับสถานีรถไฟแม่กลอง และก็เป็นส่วนหนึ่งของตลาดเทศบาลจังหวัดสมุดสงคราม ตลาดร่มหุบ เริ่มมาตั้งขายบริเวณทางริมรถไฟประมาณปี พ.ศ. 2527 เป็นตลาดที่อยู่บนทางรถไฟ สายแม่กลอง-บ้านแหลม พ่อค้า-แม่ค้า ตั้งแผงสองข้างทางรถไฟ ส่วนลูกค้าก็อาศัยทางรถไฟเป็นถนนสำหรับจับจ่ายซื้อของ เป็นเสน่ห์และความสนุกสนานของบรรดานักท่องเที่ยว เมื่อรถไฟผ่านไปทุกอย่างกลับคืนสู่สภาพเดิม

ข้อมูลอาหารพื้นเมือง ( ถ้ามี )

 หอยหลอดผัดฉ่า,หอยแครงดอง,ขนมสัมปันนี,หอยแมลงภู่ดอง,กาละแมรามัญ,แกงส้มผักชะคราม,น้ำพริก

ของฝากของที่ระลึก

 ลิ้นจี่, ส้มแก้ว, องุ่น ,ส้มโอพันธุ์ขาวใหญ่, กะปิคลองโคน, น้ำตาลมะพร้าว และผลิตภัณฑ์ถ้วยชามเบญจรงค์

ข้อมูลอื่นๆ ( มีโชว์ การแสดง )

 เลือกซื้อสินค้าประเภท ผัก ผลไม้ เนื้อสัตว์ อาหารทะเลสดๆ

ที่อยู่

 สถานีรถไฟแม่กลอง

การเดินทางโดยรถประจำทาง/รถตู้

 บริษัท ขนส่ง จำกัด เปิดบริการเดินรถกรุงเทพฯ-สมุทรสงคราม ลงที่ตลาดแม่กลองได้เลย โดยมีรถจากสถานีขนส่งสายใต้ ถนนบรมราชชนนี ทุกวัน ตั้งแต่เวลา 05.50-21.00 น. โทร. 0 2435 1199, 0 2435 5605 รถปรับอากาศ (ดำเนินทัวร์) โทร. 0 2435 5031 หรือที่เว็บไซต์ www.transport.co.th

การเดินทางโดยรถไฟ

 รถไฟ ไปแม่กลอง จะเริ่มจากวงเวียนใหญ่ (นั่งจากหัวลำโพงไม่ได้) โดยไปลงที่มหาชัย และจาก มหาชัยก็นั่งเรือข้ามฟากไปฝั่งท่าฉลอม เพื่อขึ้นรถไฟต่อจากสถานีบ้านแหลมไปยังแม่กลอง(ปลายทาง)ใช้เวลาเดินทาง ประมาณ 1 ชั่วโมง

ดอนหอยหลอด

         ดอนหอยหลอด เป็นสันดอนปากน้ำแม่กลอง ที่เกิดจากการตกตะกอนของดินปนทราย (ชาวบ้าน เรียกทรายขี้เป็ด) มีอาณาบริเวณกว้างประมาณ 3 กิโลเมตร ยาว 5 กิโลเมตร มี 2 แห่ง คือ ดอนนอกอยู่บริเวณ ปาก อ่าวแม่กลอง เดินทางไปได้โดยทางเรือ ส่วนดอนใน อยู่ที่ชายหาดหมู่บ้านฉู่ฉี่ ตำบลบางจะเกร็ง และ ที่ ชายหาดหมู่บ้านบางบ่อ ตำบลบางแก้ว สามารถเดินทางได้โดยทางรถยนต์ บริเวณสันดอนนี้มี หอยอาศัยอยู่ หลายชนิด ได้แก่ หอยลาย หอยปุก หอยปากเป็ด หอยแครง และโดยเฉพาะหอยหลอด มีมากที่สุด หอยหลอดเป็นหอยชนิด 2 ฝา ตัวสีขาวขุ่นมีเปลือกคล้ายหลอดกาแฟ ฝังตัวอยู่ในทราย การจับหอย หลอดจะใช้ไม้เล็กๆ ขนาดก้านธูป จุ่มปูนขาว แล้วแทงลงไปในรูหอยหลอด หอยจะเมา ปูนแล้วโผล่ขึ้นมาให้ จับ ดอนหอยหลอดนี้ ในเวลาน้ำมากจะถูกน้ำท่วม และในช่วงเวลาน้ำน้อย ขณะ น้ำลงจะสามารถไป เที่ยวชมทัศนียภาพได้ ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการเที่ยวชมดอนหอยหลอด คือ ระยะเวลาเดือนมีนาคม- พฤษภาคม ของทุกปี ที่บริเวณใกล้เคียงดอนหอยหลอด หมู่บ้านฉู่ฉี่นี้ เป็น ที่ตั้งศาลกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ และมี ร้านอาหาร ร้านขายสินค้าพื้นเมือง เช่น หอยหลอดแห้ง อาหารทะเลสด น้ำปลา กะปิคลองโคน น้ำตาลปึก น้ำตาลสด ฯลฯ มีจำหน่ายอยู่หลายร้าน สถานที่จอด รถสะดวก การเดินทางไปดอนหอยหลอด

ที่ตั้งและพื้นที่
อยู่ในพื้นที่ ตำบลบางจะเกร็ง ตำบลแหลมใหญ่ ตำบลบางแก้ว และตำบลคลองโคน อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสงคราม
- ที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ 13๐ 17' - 25๐ N และ 99๐ 55' - 100๐ 00' E
- เนื้อที่ 546,875 ไร่ ซึ่งรวมพื้นที่ทั้งหมดที่อยู่บนบกและในทะเล
- ความสูงจากระดับน้ำทะเล  โดยเฉลี่ยประมาณ - 0.15 - 1.23 เมตร
- ระวาง 5035 I , 4935 I , IV
ลักษณะทั่วไป
ดอนหอยหลอดเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำชายฝั่งทะเลลักษณะดิน เกิดจากการทับถมของตะกอนแม่น้ำและตะกอนน้ำทะเลบริเวณ ปากแม่น้ำกลองทำให้แผ่นดินขยายออกไปในทะเลบริเวณพื้นที่ ตั้งแต่แนวชายฝั่งทะเลลงไปในทะเล ประมาณ 8 กิโลเมตร  มีลักษณะผิวพื้นที่ชายฝั่งราบเรียบ ประกอยด้วยตะกอน โคลนกระจายเต็มพื้นที่เมื่อน้ำลงจะปรากฏสันดอนทราย กว้าง ประมาณ 4 กิโลเมตร
เนื้อดิน มีความอุดมสมบูรณ์ของธาตุอาหาร สภาพพื้นที่ ชายฝั่งหาดเลนปากแม่น้ำแม่กลองนี้มีร่องน้ำใหญ่ 3 ร่อง เกิดเป็นสันดอนทั้งหมด 5 แห่ง การขึ้นลงของน้ำทะเลเป็นแบบน้ำคู่ คือ น้ำขึ้นลงวันละ 2 ครั้ง ในขณะน้ำขึ้นมีทิศทางการไหลไปทางทิศเหนือและในขณะน้ำลงมีทิศทางการไหลไปทาง ทิศใต้อิทธิพลของกระแสลมทำให้ทิศทางของกระแสน้ำผันแปรไปบ้างเล็กน้อย
สถานภาพ
แหล่งอุตสาหกรรม แหล่งท่องเที่ยว ชุมชน เกษตรกรรม ก่อให้เกิดปัญหามลพิษทางน้ำในแม่น้ำแม่กลอง การบุกรุกทำลายป่าชายเลนเพื่อเพาะเลี่ยงสัตว์น้ำ การสร้างร้านอาหารรุกล้ำลงไปในทะเลการสร้างถนน และลานจอดรถการจับหอยหลอดในปริมาณมากเกินกำลังการผลิตตาม ธรรมชาติการใช้ปูนขาวราดลงไปเพื่อจับหอยหลอด ทำให้ปริมาณหอยหลอดลดลงอย่างมากภาวะมลพิษ ของน้ำทะเลปัญหาน้ำทิ้งจากฟาร์มเลี้ยงกุ้งพฤติกรรม การท่องเที่ยวและขยะที่เกิดขึ้นซึ่งมีผลต่อสิ่งมีชีวิตบนดอนหอยหลอดซึ่งอยู่ปากแม่น้ำ
การจัดการและอนุรักษ์
พื้นที่ดอนหอยหลอดเป็นที่สาธารณะประโยชน์ในปี พ.ศ. 2536 สำนักงานป่าไม้จังหวัดสมุทรสงครามกำหนดพื้นที่สงวนหวงห้ามบริเวณที่งอกปัก หลักเขตและป้ายแสดงแนวเขตในท้องที่ประมาณ 300 ไร่ มีโครงการพัฒนาต่างๆ ที่อาจจะก่อให้เกิดผลกระทบได้ในระยะยาว เช่น โครงการระบบป้องกันน้ำเค็ม โครงการก่อสร้างถนนเลียบชายฝั่ง บริเวณตำบลบางจะเกร็ง และตำบลบางแก้ว
ความสำคัญที่จัดเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำ
ที่มีความสำคัญระหว่างประเทศ ความสำคัญที่จัดเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระหว่างประเทศเป็นพื้นที่ ชุ่มน้ำชายฝั่งทะเลที่มีลักษณะทางธรรมชาติที่หายากประเภทหนึ่ง หาดเลนเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของหอยหลอด (Solen regularis) ที่เป็นเอกลักษณ์สำคัญของพื้นที่ และหอยอีกหลายชนิดที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจในประเทศไทยและในภูมิภาค 
คุณค่าด้านสังคมและวัฒนธรรม
ดอนหอยหลอดช่วยดักและเก็บตะกอนที่พัดพามาตาม แม่น้ำก่อนลงสู่ทะเลเป็นแหล่งผงผลิตทางการประมงหลายชนิด เช่น หอยหลอด หอยแมลงภู่โดยเฉาพะหอยหลอดเป็นสัตว์เศรษฐกิจที่ทำ รายได้ให้แก่ท้องถิ่นจนมีชื่อเสียงเป็นพื้นที่มีความเหมาะสม สำหรับการศึกษาทางด้านนิเวศวิทยา สถาบันการศึกษาหลายแห่งใช้เป็นสถานที่ศึกษาและเก็บตัวอย่างสิ่งมีชีวิตเพื่อ ศึกษาด้านอนุกรมวิทยา นิเวศวิทยาและวิวัฒนาการเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่กำลังได้ รับการส่งเสริมจากจังหวัดให้เป็นที่รู้จักแพร่หลายยิ่งขึ้น 
คุณค่าด้านความหลากหลายทางชีวภาพ
สภาพทางชีวภาพ
บริเวณหาดเลนเป็นที่อยู่อาศัยของหอยหลอด (Solen regularis) ซึ่งไม่พบมากนักตามชายฝั่งทะเลอ่าวไทยแห่งอื่น แต่พบมากในบริเวณนี้จึงถือเป็นเอกลักษณ์ของหาดเลน ตำบลบางจะเกร็งแห่งนี้
พบนกอย่างน้อย 18 ชนิด บริเวณดอนหอยหลอดและป่าชายเลน ใกล้เคียงตลอดแนวชายฝั่งทะเล เป็นนกทะเลและนกชายเลน (endangered) ได้แก่ นกกระสานวล ( Ardea cinerea ) ชนิดที่อยู่ในสถานภาพใกล้ถูกคุกคาม (near threatened) ได้แก่ เหยี่ยวแดง ( Haliastur Indus )  นกนางนวลแกลบเล็ก (Sterna albifrons ) นกแอ่นกินรัง (Aerodramus fuciphagus) นกชนิดอื่นๆ ที่พบ เช่น นกยางกรอกพันธุ์ชวา (Ardeola speciosa ) นกนางนวลแกลบเคราขาว (Chlidonias hybridus )

วันอาทิตย์ที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2554

ผาแต้ม

ลักษณะภูมิประเทศ
แดนตะวันออกสุดพระอาทิตย์ขึ้นก่อนใครในสยามที่ผาแต้ม
อุทยานแห่งชาติผาแต้มอุทยาน แห่งชาติผาแต้มมีสภาพพื้นที่เป็นเทือกเขาติดต่อกันลักษณะสูงๆ ต่ำๆ สลับกันไปทั่วพื้นที่ ระดับความสูงของพื้นที่อยู่ระหว่าง 100-600 เมตรจากระดับน้ำทะเล แนวเขตด้านทิศตะวันออกใช้เส้นแบ่งเขตแดนประเทศและติดกับประเทศลาว ซึ่งมีแม่น้ำโขงเป็นแนวเขตโดยตลอดความยาวประมาณ 63 กิโลเมตร สภาพพื้นที่โดยรวมเป็นลานหิน รอบแนวเขตถัดจากฝั่งแม่น้ำโขงจะเป็นหน้าผาสูงชัน มีภูผาที่สำคัญได้แก่ ภูผาขาม ภูผาเมย ภูผาเจ็ก ภูผาสร้อย ภูย่าแพะ ภูชะนะได ภูผานาทาม ภูโลง ภูปัง ภูจันทร์แดง ภูหลวง ภูสมุย และภูกระบอ เป็นต้น อุทยานแห่งชาติผาแต้มเป็นแหล่งต้นน้ำลำธารของห้วยช้าง ห้วยภูโลง ห้วยฮุง ห้วยลาน ห้วยเพราะ ห้วยแยะ ห้วยกวย ห้วยกะอาก ห้วยใหญ่ ห้วยสูง และห้วยหละหลอย

ลักษณะภูมิอากาศอุทยานแห่งชาติผาแต้ม
สภาพ อากาศของอุทยานแห่งชาติผาแต้มสามารถแบ่งออกเป็น 3 ฤดู ได้แก่ ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่เดือน มิถุนายน–กันยายน ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่เดือน ตุลาคม–กุมภาพันธ์ ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่เดือน มีนาคม–พฤษภาคม อุณหภูมิในแต่ละฤดูแตกต่างกันอย่างมาก ในฤดูฝนจะมีพายุฝนฟ้าคะนองอยู่บ่อยๆ ในฤดูหนาวอากาศเย็นและแห้งแล้ง ความชื้นในบรรยากาศมีน้อย ในฤดูร้อนอากาศร้อนจัด ต้นไม้ใบหญ้าแห้ง

เสาเฉลียงคู่พืชพรรณและสัตว์ป่า
สภาพ ป่าโดยทั่วไปเป็น ป่าเต็งรัง เสียส่วนใหญ่ ตามพื้นที่มีหินโผล่ ลักษณะเป็นป่าโปร่งต้นไม้แคระแกร็น แต่มีความสวยงามตามธรรมชาติ พันธุ์ไม้ที่สำคัญ ได้แก่ เต็ง รัง เหียง ประดู่ และเหมือดต่างๆ พืชพื้นล่างเป็นพวกไผ่ป่า หญ้าต่างๆ ข่อยหิน และยังมีไม้ดอกที่สวยงามขึ้นอยู่ตามซอกลานหินทั่วไป เช่น หยาดน้ำค้าง แดงอุบล เอ็นอ้า เหลืองพิสมร กระดุมเงิน ตั้งไก่(หัวไก่โอก) มณีเทวา ขึ้นอยู่เป็นจำนวนมากกระจายทั่วพื้นที่ สภาพป่าจะเปลี่ยนเป็น ป่าดิบแล้ง ในบริเวณที่ราบลุ่มแถบริมห้วยหรือริมแม่น้ำ เนื่องจากมีความชุ่มชื้นพอประมาณตลอดปี นอกจาก นี้ ยังพบป่าสนสองใบที่ขึ้นเองตามธรรมชาติ กระจัดกระจายในส่วนที่เป็นพื้นราบบนภูต่างๆ ทั่วพื้นที่
สัตว์ ป่า ประเภทสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดใหญ่ยังไม่พบ พบแต่ขนาดเล็กลงมา สัตว์ป่าที่พบได้ทั่วไป เช่น อีเห็น สุนัขจิ้งจอก กระต่ายป่า อีเก้ง ชะมด บ่าง ในฤดูแล้งเมื่อระดับน้ำในแม่น้ำโขงลดลงมาก จะพบเห็นสัตว์ประเภทหมูป่า เลียงผา ว่ายน้ำข้ามมาจากฝั่งประเทศลาวอยู่เสมอๆ เนื่องจากอาณาเขตบางส่วนอยู่ในลำน้ำโขงมีปลาน้ำจืดชนิดต่างๆ มากมาย ได้แก่ ปลาบึก ปลาตะเพียน ปลาคลัง ปลาเทโพ ปลากรด ปลาตูนา ปลาหมอ ปลากาย ปลาแข้เป็นต้น นกนานาชนิดที่พบเห็น เช่น นกขุนทอง นกยูง เหยี่ยว อีกา นกขุนแผน นกกระเต็น เป็นต้น

มอหินขาว

      มอหินขาวตั้งอยู่ในเขต อุทยานแห่งชาติภูแลนคา เป็นกลุ่มหินขนาดใหญ่จำนวน 3 กลุ่ม โดยจะมีหินทรายก้อนใหญ่ก้อนหนึ่งเป็นสีขาวและโดดเด่นในพื้นที่ และเป็นที่มาของคำว่า มอหินขาว และในบริเวณยังมีเสาหินขนาดใหญ่จำนวน 5 เสา ตั้งเรียงรายกันเป็นแถว มีความสูงประมาณ 12 เมตร นอกจากนั้นยังมีแท่นหินที่มีรูปร่างคล้ายเรือ เจดีย์ หอเอียงเมืองปิซ่า และคล้ายกระดองเต่า ซึ่งจัดเป็นกลุ่มหินที่ 1 กลุ่มหินที่ 2 อยู่ห่างออกไป แท่นหินจะมีรูปร่างแปลกแตกต่างกันออกไป และเมื่อห่างออกไปอีกประมาณ 1,500 เมตร จะเป็นกลุ่มหินที่ 3 ที่เป็นแท่นหินและเสาหินขนาดเล็ก โดยลาดเอียงขึ้นไปจดหน้าผาที่มีชื่อว่า ผาหัวนาก และบริเวณมอหินขาวยังเป็นจุดชมทิวทัศน์ที่สวยงามแห่งหนึ่งของจังหวัดชัยภูมิ
ที่มาของชื่อ มอหินขาว: เดิมพื้นที่แถวนี้เป็นป่า ต่อมาได้มีคนมาบุกเบิกทำไร่ และก็เห็นมีก้อนหินขนาดใหญ่อยู่ทั่วไปแต่ ก็ไม่ได้สนใจอะไร ที่ไร่มันสำปะหลัง (ในสมัยนั้น) ของลุงก็มีก้อนหินใหญ่ขึ้นทั่วไป แต่ที่ลุงเห็นว่าแปลกประหลาดมาก ก็คือก้อนหินใหญ่ 5 ก้อน ที่ในทุกคืนวันพระ (15 ค่ำ, 8 ค่ำ) จะมีแสงสีขาวส่องขึ้นมา คนเฒ่าคนแก่สมัยนั้น เลยเรียกที่นี่ว่ามอหินขาวสโตนเฮนจ์ เมืองไทย“เสาหินและแท่งหิน ที่มอหินขาวส่วนใหญ่เป็นหินทรายสีขาว นอกจากนี้ก็ยังมี หินทรายแป้ง หินโคลน หินทรายสีม่วง ซึ่งสันนิษฐานว่าก้อนหินขนาดยักษ์เหล่านี้มีอายุประมาณ 175-195 ล้านปี และเกิดจากการสะสมตัวของตะกอนทรายแป้งและดินเหนียว
กลุ่มหินของมอหินขาวกลุ่มที่โดดเด่นที่สุด คือ กลุ่มหินแรกที่มีเสาหินขนาดใหญ่ 5 ต้นเรียงรายกันอยู่ เสาหินเหล่านี้มีความสูงราว 12 เมตร ต้นที่มีขนาดใหญ่ที่สุดต้องใช้คนโอบไม่น้อยกว่า 20 คน เชื่อว่าที่นี่จะได้รับความนิยมในบ้านเราในเวลาไม่นานนัก
สอบถามรายละเอียดได้ที่ อุทยานแห่งชาติภูแลนคา โทร. 044810902-3 หรือกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช โทร.025620760

ทุ่งดอกกระเจียว

   ทุ่งดอกกระเจียว อุทยานแห่งชาติไทรทอง เป็นทุ่ง ดอกกระเจียวอีก 1 แห่ง ของ จังหวัดชัยภูมิ ที่สวยงามอีก หนึ่งแห่ง ซึ่งเป็นที่รู้จักของนักท่องเที่ยวว่าเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่มีทุ่งดอก กระเจียว เบ่งบานชูช่ออยู่หลายทุ่ง ด้วยกัน นอกจากดอกกระเจียวสีชมพูที่เราจะได้เห็นกันแล้ว ยังมีทุ่งดอกกระเจียวขาวให้เราได้ชมกันอีกด้วย ทุ่งดอกกระเจียว อุทยานแห่งชาติไทรทอง ตั้งอยู่ในอุทยานแห่งชาติไทรทอง ในเขตพื้นที่ของอำเภอ หนองบัว ระเหว อำเภอเทพสถิต อำเภอภักดีชุมพล และอำเภอหนองบัวแดง ชัยภูมิ มีเนื้อที่ประมาณ 319 ตารางกิโลเมตร หรือ ประมาณ 199,375 ไร่ในช่วงเทศกาลดอกกระเจียวบานทุ่งดอกกระเจียวที่นี่จะบานช้ากว่า อุทยานแห่งชาติ ป่าหินงาม เมื่อเที่ยว ทุ่งดอกกระเจียวที่ป่าหินงามในช่วงเเดือนมิ.ย.-ก.ค. แล้ว ยังมาเที่ยวที่ทุ่งดอกกระเจียว อุทยานแห่งชาติไทรทองได้อีกในช่วง ก.ค.-ส.ค.

ทุ่งดอกกระเจียว อุทยานแห่งชาติไทรทอง นั้น เป็นทุ่งดอกกระเจียวที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของจังหวัดชัยภูมิ ตั้งอยู่บริเวณสันเขาพังเหยทางทิศตะวันตก นอกจากนี้ยังมีความพิเศษที่ให้เลือกชมได้ 2 สี คือ ดอกกระเจียว สี ม่วงอมชมพู(ดอกบัวสวรรค์)และดอกกระเจียวสีขาว(ดอกบัวเทพอัปสร) โดยแบ่งออกเป็น 4 กลุ่มใหญ่ๆมีเส้นทาง เดินชมที่สะดวกเดินง่ายผ่านป่าเต็งรังสลับกับจุดชมวิวตามแนวผาให้ชมตลอดทาง

ทุ่งทานตะวัน

ขอแนะนำสถานที่ท่องเที่ยว จะชวนเพื่อนๆชาวไทยสบายไปเที่ยวที่จังหวัดลพบุรี เพราะที่นั่นมีการปลูกทานตะวันมากที่สุดในประเทศไทย จนกลายเป็นทุ่งทานตะวัน คือ ประมาณ 200,000 – 300,000 ไร่ ดอกทานตะวันจะบานสะพรั่งในช่วงเดือนพฤศจิกายน – มกราคม ทานตะวันเป็นพืชทนแล้ง เกษตรกรนิยมปลูกแทนข้าวโพด เมล็ดทานตะวันมีคุณค่าทางโภชนาการ นิยมใช้สกัดทำน้ำมันปรุงอาหาร หรืออบแห้ง เพื่อรับประทาน หรือใช้เป็นส่วนผสมของเครื่ องสำอาง และยังสามารถเลี้ยงผึ้งเป็นอาชีพส่งเสริมได้อีกด้วย จึงทำให้ได้ผลผลิต คือ น้ำผึ้งจากดอกทานตะวันอีกทางหนึ่ง โดยแหล่งที่ปลูกทานตะวัน จะกระจายอยู่ทั่วไปในเขตอำเภอเมือง อำเภอพัฒนานิคม อำเภอชัยบาดาล พื้นที่ที่ปลูกเป็นจำนวนมาก ได้แก่ บริเวณเขาจีนแล ใ กล้วัดเวฬุวัน ตำบลโคกตูม อำเภอเมือง
การเดินทาง ไปชมทุ่งทานตะวันสามารถใช้เส้นทางได้ 2 เส้นทาง ได้แก่

เส้นทางแรก สามารถเดินทางจากจังหวัดลพบุรี โดยใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 1 ไปประมาณ 15 กม. จนถึงสามแยกพุแค แล้วเลี้ยวขวาไปตามทางหลวง หมายเลข 21 ไปอีกประมาณ 15 กิโลเมตร ก็จะถึงทางเข้าวัดมณีศรีดสถณและให้แล้วขวา ไปอีกประมาณ 2 -5 กิโลเมตร ก็จะพบทุ่งทานตะวันนับหมื่นไร่

เส้นทางที่สอง สามารถเดินทางจากจังหวัดสระบุรี โดยใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 1 ไปประมาณ 15 กม.จนถึงสามแยก พุแคแล้วเลี้ยวขวาไปตามทางหลวง หมายเลข 21 ไปอีกประมาณ 15 กิโลเมตรก็จะถึงทางเข้าวัดมณีศรีโสภณและให้เลี้ยว ขวาไปอีกประมาณ 2 – 5 กิโลเมตร ก็จะพบทุ่งทางตะวันนับหมื่นไร